วันจันทร์ที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2557

การตั้งค่า eth0 ให้ตรงกับ LAN Card (Ubuntu)


ให้ไปแก้ไขที่ไฟล์
nano /etc/udev/rules.d/70-persistent-net.rules

ตัวอย่างไฟล์
# This file was automatically generated by the /lib/udev/write_net_rules
# program, run by the persistent-net-generator.rules rules file.
#
# You can modify it, as long as you keep each rule on a single
# line, and change only the value of the NAME= key.

# PCI device 0x8086:0x100f (e1000)
SUBSYSTEM=="net", ACTION=="add", DRIVERS=="?*", ATTR{address}=="00:50:56:a9:cc:ec", ATTR{dev_id}=="0x0", ATTR{type}=="1", KERNEL=="eth*", NAME="eth0"


** หากมี LAN Card หลายช่องจะขึ้น SUBSYSTEM หลายอัน **

วันพฤหัสบดีที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

ตั้งค่า vsftpd Ubuntu Linux 13.10

แก้ Config vsftpd (เพิ่มเติมจาก Sulkiflee.n)
(http://sulkiflee-n.blogspot.com/2013/06/ftp-server-on-ubuntu-1204.html)

local_enable=YES
write_enable=YES
local_umask=022  #เพื่อให้อัพไฟล์แล้วรันได้ 644
chroot_local_user=YES
chroot_list_enable=YES
#chroot_list_file=/etc/vsftpd.chroot_list  #ปิดการใช้งานเพื่อความปลอดภัย
local_root=public_html #ปิด
allow_writeable_chroot=YES #เพิ่ม

การ Config ให้ Apache อ่าน public_html ของ User

สร้าง link ให้ไปอ่านใน Directory ของ User
cd /etc/apache2/mods-enabled/
ln -s ../mods-available/userdir.load
ln -s ../mods-available/userdir.conf

ทำการรีสตาร์ท Apache



วันพุธที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2557

การติดตั้ง ICECAST2 บน Ubuntu10.04

การติดตั้ง ICECAST2 บน Ubuntu10.04

apt-get install icecast2

เปิดใช้งาน
nano /etc/default/icecast2
แก้ไข
ENABLE=true

แก้ไข  password config file
nano /etc/icecast2/icecast.xml
    <authentication>
        <!-- Sources log in with username 'source' -->
        <source-password>hackme</source-password>
        <!-- Relays log in username 'relay' -->
        <relay-password>hackme</relay-password>
        <!-- Admin logs in with the username given below -->
        <admin-user>admin</admin-user>
        <admin-password>hackme</admin-password>
    </authentication>

เริ่มทำงาน icecast2 server
/etc/init.d/icecast2 start

เข้าดูผ่านหน้า web

วันพุธที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2557

HTML5 กับ Audio

โค้ด
<audio controls>
  <source src="horse.ogg" type="audio/ogg">
  <source src="horse.mp3" type="audio/mpeg">
  Your browser does not support the audio tag.
</audio>

ที่มา : http://www.w3schools.com/tags/tag_audio.asp


โค้ด มรย.
<audio controls autoplay>
  <source src="http://202.29.32.143:1058/live" type="audio/mpeg">
  Your browser does not support the audio tag.

</audio>

การเริ่ม Stream สัญญาณวิทยุ

การเริ่ม Stream สัญญาณวิทยุ

ในการทำงานปกติควรนำเอา สัญญาณเสียงจากระบบเครื่องเสียงที่ใช้ในการออกอากาศเข้าช่อง Line-In ของเครื่องคอมพิวเตอร์ และควรปิด Input อื่นๆ ทั้งหมดเพื่อกันสัญญาณรบกวน จากนั้น ทดสอบว่ามีเสียงเข้าในเครื่องคอมพิวเตอร์ ปรับระดับเสียง แล้วจึงเริ่มการเชื่อมต่อกับ R-radio Server

1. เปิดโปรแกรม SimpleCast และกดปุ่ม Start (1)เพื่อเริ่ม Capture ข้อมูลเสียง
2. เมื่อกดปุ่ม Start จะมีระดับความดังของเสียงที่ Capture เคลื่อนไหวแสดงว่าข้อมูลเข้าปกติ ให้คลิกปุ่ม Encoders (2) เพื่อกำหนด Streaming Source
3. เมื่อโปรแกรมแสดงหน้าต่าง Encoders ให้คลิกเครื่องหมาย + (3) เพื่อของเพิ่ม Streaming Source จะแสดงหน้าต่างให้เลือกวิธีการเข้ารหัสข้อมูล
4. ในการเข้ารหัสข้อมูลนั้นมีได้หลายแบบ ตั้งแต่ MP3/mp3PRO, WMA ,Legacy MP3, Ogg
MP3/mp3PRO เป็นการเข้ารหัสข้อมูล Audio โดย MP3 จะความสามารถในการลดขนาดข้อมูลประมาณ 12:1 แต่ mp3PRO นั้นสามารถลดขนาดข้อมูลได้มากกว่า MP3 เท่าตัวอย่างไรก็ตามในการ Playback ต้องใช้ซอฟท์แวร์ที่รองรับ ซอฟท์แวร์ที่ใช้เล่นไฟล์ MP3 ไม่สามารถนำมาใช้กับไฟล์mp3PRO ได้ทุกตัว
WMA - Windows Media Audio เป็นมาตรฐานของ Microsoft แต่ข้อจำกัดในการใช้งานด้านลิขสิทธิ์การใช้ และโปรแกรมใช้งาน
Legacy MP3 - Free MP3
Ogg - เป็นมาตรฐานใหม่ในการบีบอัดข้อมูล ที่พัฒนาโดย Xiph foundation ไฟล์ Ogg มีขนาดเล็กสนับสนุน Streaming และรองรับทั้ง เสียง วิดีโอ ภาพและข้อความ มีความนิยมมากขึ้นเรื่อยเพราะมีประสิทธิภาพสูงกว่า MP3และยังเป็น Open Source แต่มีข้อจำกัดที่ประเภทซอฟท์แวร์ที่นำมาใช้งานยังมีน้อย ไม่สามารถทำงานกับ Microsoft MediaPlayer ได้ โปรแกรม SimpleCast รองรับ Ogg version ของบริษัท Vorbis

ในกรณีของเราเพื่อความสะดวกของผู้ใช้จึงเลือกการบีบอัดเป็น MP3 โดยใช้โปรแกรม MediaPlayer เป็นตัว Playback (4) จากนั้นคลิกที่ปุ่ม OK (5)

การกำหนด Streaming Configuration
เมื่อกำหนดการเข้ารหัสแล้วโปรแกรมจะแสดงหน้าจอ Encoding & Streaming configuraion เพื่อให้กำหนดค่าต่อ
กำหนดคุณสมบัติข้อมูล
1. เลือกแทป Converter (1) เพื่อกำหนดฟอร์แมตของไฟล์ MP3
2. กำหนด Quality และ Format (2) ปกติกำหนดคุณสมบัติเป็น Medium และกำหนดรูปแบบของข้อมูล ลองกำหนดเป็นกลาง ๆ ที่ 48kb/s ที่ Sample rate เป็น 22 KHz. ซึ่งเป็นคุณภาพระบบคาสเซ็ทเทป คุณภาพข้อมูลอาจลดกว่านี้ได้ ขึ้นกับประเภทข้อมูลที่ใช้งาน เช่น
Input
Sample rate
Microphone
8 KHz.
เทปคาสเซ็ท
Mono 11 KHz  Stereo 22KHz.
CD
44.1 KHz

การใช้ Sampling rate ผิดประเภทเช่นเสียงพูด(อย่างเดียวที่เข้ารหัสเป็น 44.1 KHz. ก็ไม่ได้ทำให้คุณภาพสูงขึ้นเพราะมีข้อมูลเสียงจำกัดตั้งแต่แหล่งกำเนิด และยังใช้ bandwidth ในการส่งข้อมูลมาก หรือเล่น CD ที่ 11 KHz. ก็จะทำให้ได้คุณภาพเสียงที่ต่ำมากแต่ก็มีความเร็วในการส่งเพิ่มขึ้น

ให้เลือกคุณภาพเสียงตามตัวอย่าง

การกำหนดรายละเอียดของ Straming Server
 กำหนดข้อมูลของ Streaming Server ที่จะติดต่อด้วย ดังนี้
1. คลิกแทป Server Detail (3) แล้วกำหนด Server เป็น IceCast (4) เลือกเวอร์ชั่นเป็น IceCast 2 (5)
2. กำหนดข้อมูล Server IP เป็น 61.19.235.10 (6) ให้แก้เป็น 118.175.21.10 เพื่อติดต่อกับ R-radio Streaming Server กำหนด Port เป็น 7144 (7) และ Password เป็น b526 (8)

การกำหนเงื่อนไขในการบันทึกรายการ
ในขณะที่ทำการออกอากาศ นั้น SampleCast สามาารถบันทึกเสียงที่ออกอากาศไว้เป็นไฟล์ MP3 ทำได้ดังนี้
1. เลือกแทป Stream Achive (9)
2. กำหนดตำแหน่งและชื่อไฟล์ที่จะบันทึก ให้ใช้ชื่อย่อของสถานีเป็นชื่อไฟล์และต้องเป็นภาษาอังกฤษเท่านั้น (10)
3. เลือกเงื่อนไขในการบันทึกเสียง แนะนำให้บันทึกเป็นช่วงๆ ละ 10 นาที โปรแกรมจะแยกไฟล์เป็นไฟล์ย่อยๆ และต่อชื่อไฟล์ด้วยเวลาให้โดยอัติโนมัติ (11) ถ้าไฟล์ใหญ่มากจะมีปัญหากับการ Upload เข้า Server เพื่อเก็บบันทึกเป็นรายการย้อนหลัง อาจต้องส่งบันทึกเป็นแผ่นซีดีไปยัง สอศแทน
4. เมื่อกำหนดค่าเสร็จแล้วคลิกปุ่ม OK เพื่อจบในส่วนนี้โปรแกรมจะแสดงรายการที่ได้กำหนดไว้ (Streaming Source)

การเริ่ม Stream ข้อมูล
1. เลือกรายการที่ 1 แล้ว คลิกปุ่ม Play(1) เพื่อเริ่มส่งข้อมูลข้อความเดิม
2. ถ้าไม่มีปัญหาสามารถติดต่อได้ข้อความในการรายของการส่งข้อมูลในช่อง Status จะแสดงข้อความเป็น  Encoding และแสดงรายละเอียดของข้อมูลด้านขวา กรณีติดต่อ Server ไม่ได้ โปรแกรมจะพยายามติดต่อเป็นระยะๆ

เพราะอะไรจึงติดต่อ Server ไม่ได้
สาเหตุหลักที่ทำให้ติดต่อไม่ได้จะเกิดจาก Server ไม่ว่าง มีผู้ใช้อื่นส่งข้อมูลอยู่ ดังนั้นเมื่อท่านจบรายการในช่วงของท่านแล้วท่านต้องหยุดการส่งข้อมูลเพื่อเปิดโอกาสให้สถานีอื่นดำเนินการต่อไป โดยคลิกปุ่ม Stop (5)
อีกสาเหตุหนึ่งเป็นได้จากการที่ internet ของท่าน Bandwidth ดังนั้นแนะนำให้ใช้ Internet line แยกต่างหาก

เมนูอื่นๆ
หมายเลข 2 เรียกเมนู
หมายเลข 3 / 4 เพิ่ม/ลบ รายการ
หมายเลข 5 Play/Stop
Double click ที่รายการเพื่อแก้ไขรายละเอียด
หมายเลข 6 ปุ่ม Hide เพื่อซ่อนโปรแกรมไว้ใน Task Bar



การปิดโปรแกรม

กดปุ่ม Power (8) เพื่อปิดโปรแกรม ควร Stop Streaming ก่อนปิดโปรแกรม

คำแนะนำ
แนะนำให้สร้าง Streaming ไว้หลายรายการโดยกำหนด ฟอร์แมตข้อมูลแตกต่างกันตามสภาพงาน (หัวข้อ Converter) โดยให้มีรายละเอียดในหัวข้อ Server Details และ Stream Achive เหมือนเดิม

สรุปการใช้งาน
ขั้นตอนในการใช้งานครั้งต่อไปหลังจากกำหนดรายละเอียดครบแล้ว
1. เช็คระบบเสียงคอมพิวเตอร์
2. เปิดโปรแกรม SimpleCast (1) และคลิกปุ่ม Start (2) สังเกตสัญญาณเสียงเข้าจะต้องมี
3. คลิกปุ่ม Encoders (3) เลือกรายการที่ต้องการ (4)
4. คลิกปุ่ม Play (5)

เมื่อจบรายการ
1. คลิกปุ่ม Play/Stop (5)
2. กลับมาที่วินโดวส์หลัก คลิกปุ่ม Power (6)

ที่มา : http://www.r-radionetwork.net/htx/doc/simplecast/simplecast.htm

วันจันทร์ที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2557

การเข้าเมล์มหาวิทยาลัยในกรณี เข้า mail.yru.ac.th ไม่ได้

1. เข้า google ก่อน www.google.com หรือเข้า www.gmail.com
2. เข้าสู่ระบบ โดยใส่ ชื่อผู้ใช้@yru.ac.th
3. ใช้งานได้ตามปกติ